ข้อ11-20

11. ผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการวิธีการปฏิบัติราชการทางปกครอง กำหนดจำนวนไว้ตามข้อใด
ก. ไม่น้อยกว่า 3 คน แต่ไม่เกิน 5 คน    ข. ไม่น้อยกว่า 5 คน แต่ไม่เกิน 7 คน
ค. ไม่น้อยกว่า 5 คน แต่ไม่เกิน 9 คน    ง. ไม่น้อยกว่า 7 คน แต่ไม่เกิน 9 คน

ตอบ. จากข้อ 9.

12. บุคคลข้อใดที่ทำตามหน้าที่เลขานุการในคณะกรรมการวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง
ก. เลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา
ข. เลขาธิการคณะรัฐมนตรี
ค. ข้าราชการของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาที่เลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกาแต่งตั้ง
ง. ข้าราชการของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาที่เลขาธิการคณะรัฐมนตรีแต่งตั้ง

ตอบ.จากข้อ 9.
13. หน่วยงานที่ทำหน้าที่สำนักงานเลขานุการของคณะกรรมการวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง คือหน่วยงานในข้อใด
ก. สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา                     ข. สำนักงานคณะกรรมการรัฐมนตรี
ค. สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน      ง. กรมการปกครอง

ตอบ.จากข้อ 9.

14. กรรมการในคณะกรรมการวิธีปฏิบัติราชการทางปกครองที่คณะรัฐมนตรีแต่งตั้งมีวาระการดำรงตำแหน่ง คราวละกี่ปี
ก. 2 ปี     ข. 3 ปี      ค. 4 ปี     ง. 5 ปี

ตอบ.มาตรา ๘ ให้กรรมการซึ่งคณะรัฐมนตรีแต่งตั้งมีวาระดำรงตำแหน่งคราวละสามปี กรรมการซึ่งพ้นจากตำแหน่งอาจได้รับแต่งตั้งอีกได้
ในกรณีที่กรรมการพ้นจากตำแหน่งตามวาระ แต่ยังมิได้แต่งตั้งกรรมการใหม่ ให้กรรมการนั้นปฏิบัติหน้าที่ไปพลางก่อนจนกว่าจะได้แต่งตั้งกรรมการใหม่

15. ข้อใดไม่ใช่อำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง
ก. สอดส่องดูแลและให้คำแนะนำเกี่ยวกับการดำเนินงานของเจ้าหน้าที่ในการปฏิบัติตามพระราชบัญญัตินี้
ข. เสนอแนะในการตราพระราชกฤษฎีกาและการออกกฎกระทรวงหรือประกาศตามพระราชบัญญัตินี้
ค. พิจารณาคดีทางการปกครอง
ง. จัดทำรายงานเกี่ยวกับการปฏิบัติตามพระราชบัญญัตินี้เสนอนายกรัฐมนตรี

ตอบ.มาตรา ๑๑ คณะกรรมการวิธีปฏิบัติราชการทางปกครองมีอำนาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้
(๑) สอดส่องดูแลและให้คำแนะนำเกี่ยวกับการดำเนินงานของเจ้าหน้าที่ในการปฏิบัติตามพระราชบัญญัตินี้
(๒) ให้คำปรึกษาแก่เจ้าหน้าที่เกี่ยวกับการปฏิบัติตามพระราชบัญญัตินี้ ตามที่บุคคลดังกล่าวร้องขอ ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการวิธีปฏิบัติราชการทางปกครองกำหนด
(๓) มีหนังสือเรียกให้เจ้าหน้าที่หรือบุคคลอื่นใดมาชี้แจงหรือแสดงความเห็นประกอบการพิจารณาได้
(๔) เสนอแนะในการตราพระราชกฤษฎีกาและการออกกฎกระทรวงหรือประกาศตามพระราชบัญญัตินี้
(๕) จัดทำรายงานเกี่ยวกับการปฏิบัติตามพระราชบัญญัตินี้เสนอคณะรัฐมนตรีเป็นครั้งคราวตามความเหมาะสมแต่อย่างน้อยปีละหนึ่งครั้ง เพื่อพัฒนาและปรับปรุงการปฏิบัติราชการทางปกครองให้เป็นไปโดยมีความเป็นธรรมและมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
(๖) เรื่องอื่นตามที่คณะรัฐมนตรีหรือนายกรัฐมนตรีมอบหมาย

16. เจ้าหน้าที่ตามข้อใดทำการพิจารณาทางปกครองได้
ก. เป็นคู่กรณีในคดี                          ข. เป็นเจ้าหนี้หรือลูกหนี้ หรือเป็นนายจ้างของคู่กรณี
ค. เป็นผู้บังคับบัญชาของคู่กรณี      ง. เป็นผู้บังคับบัญชาของคู่กรณีในคดี

ตอบ.มาตรา ๑๓ เจ้าหน้าที่ดังต่อไปนี้จะทำการพิจารณาทางปกครองไม่ได้
(๑) เป็นคู่กรณีเอง
(๒) เป็นคู่หมั้นหรือคู่สมรสของคู่กรณี
(๓) เป็นญาติของคู่กรณี คือ เป็นบุพการีหรือผู้สืบสันดานไม่ว่าชั้นใด ๆ หรือเป็นพี่น้องหรือลูกพี่ลูกน้องนับได้เพียงภายในสามชั้น หรือเป็นญาติเกี่ยวพันทางแต่งงานนับได้เพียงสองชั้น
(๔) เป็นหรือเคยเป็นผู้แทนโดยชอบธรรมหรือผู้พิทักษ์หรือผู้แทนหรือตัวแทนของคู่กรณี
(๕) เป็นเจ้าหนี้หรือลูกหนี้ หรือเป็นนายจ้างของคู่กรณี (๖) กรณีอื่นตามที่กำหนดในกฎกระทรวง

17. เจ้าหน้าที่ในข้อใดที่จะทำการพิจารณาทางปกครองไม่ได้
ก. เป็นคู่หมั้นของคู่กรณี         ข. เป็นญาติของคู่กรณี
ค. เป็นนายจ้างของคู่กรณี      ง. ทุกข้อที่กล่าวมาจะทำการพิจารณาทางปกครองไม่ได้

ตอบ.ตามข้อ 16.
18. กรณีใดที่เจ้าหน้าที่ทำการพิจารณาทางการปกครองได้
ก. เป็นคู่กรณีเอง                                 ข. เป็นเพื่อนของคู่สมรส
ค. เป็นคู่หมั้นหรือคู่สมรสของคู่กรณี     ง. เป็นเจ้าหนี้หรือลูกหนี้ของคู่กรณี

ตอบ จากข้อ 16.
19. บุคคลตามข้อใดเป็นคู่กรณีในการพิจารณาปกครองได้
ก. บุคคลธรรมดา     ข. คณะบุคคล     ค. นิติบุคคล     ง. ถูกทุกข้อ

ตอบ.มาตรา ๒๑ บุคคลธรรมดา คณะบุคคล หรือนิติบุคคล อาจเป็นคู่กรณีในการพิจารณาทางปกครองได้ตามขอบเขตที่สิทธิของตนถูกกระทบกระเทือนหรืออาจถูกกระทบกระเทือนโดยมิอาจหลีกเลี่ยงได้

20. บุคคลตามข้อใดเป็นตัวแทนร่วมของคู่กรณี ในกรณีที่มีคู่กรณีเกิน 50 คนยื่นคำขออย่างเดียวกันได้
ก. บุคคลธรรมดา     ข. คณะบุคคล     ค. นิติบุคคล     ง. ถูกทุกข้อ

ตอบ.มาตรา ๒๕ ในกรณีที่มีการยื่นคำขอโดยมีผู้ลงชื่อร่วมกันเกินห้าสิบคนหรือมีคู่กรณีเกินห้าสิบคนยื่นคำขอที่มีข้อความอย่างเดียวกันหรือทำนองเดียวกัน ถ้าในคำขอมีการระบุให้บุคคลใดเป็นตัวแทนของบุคคลดังกล่าวหรือมีข้อความเป็นปริยายให้เข้าใจได้เช่นนั้น ให้ถือว่าผู้ที่ถูกระบุชื่อดังกล่าวเป็นตัวแทนร่วมของคู่กรณีเหล่านั้น
ในกรณีที่มีคู่กรณีเกินห้าสิบคนยื่นคำขอให้มีคำสั่งทางปกครองในเรื่องเดียวกัน โดยไม่มีการกำหนดให้บุคคลใดเป็นตัวแทนร่วมของตนตามวรรคหนึ่ง ให้เจ้าหน้าที่ในเรื่องนั้นแต่งตั้งบุคคลที่คู่กรณีฝ่ายข้างมากเห็นชอบเป็นตัวแทนร่วมของบุคคลดังกล่าว ในกรณีนี้ให้นำมาตรา ๒๔ วรรคสอง และวรรคสาม มาใช้บังคับโดยอนุโลม
ตัวแทนร่วมตามวรรคหนึ่งหรือวรรคสองต้องเป็นบุคคลธรรมดา
คู่กรณีจะบอกเลิกการให้ตัวแทนร่วมดำเนินการแทนตนเมื่อใดก็ได้แต่ต้องมีหนังสือแจ้งให้เจ้าหน้าที่ทราบและดำเนินการใด ๆ ในกระบวนการพิจารณาทางปกครองต่อไปด้วยตนเอง
ตัวแทนร่วมจะบอกเลิกการเป็นตัวแทนเมื่อใดก็ได้ แต่ต้องมีหนังสือแจ้งให้เจ้าหน้าที่ทราบกับต้องแจ้งให้คู่กรณีทุกรายทราบด้วย

  1. No trackbacks yet.

ใส่ความเห็น