กรุสำหรับ มิถุนายน, 2013

สรุป พรบ.วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง 2539

สรุป  พรบ.วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง 2539

1. การพิจารณาของอธิดีกรมการปกครอง ต้องอยู่ภายใต้บังคับบัญชาของ พ.ร.บ.วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง
2. การเตรียมการของเจ้าหน้าที่เพื่อจัดให้มีคำสั่งทางปกครอง , การดำเนินการของเจ้าหน้าที่เพื่อจัดให้มีคำสั่งทางปกครอง , การเตรียมการของเจ้าหน้าที่เพื่อออกกฎ, การดำเนินการของเจ้าหน้าที่เพื่อออกกฎ คือวิธีปฏิบัติราชการทางการปกครอง
3. การออกระเบียบ ,การประกาศเตือน ไม่ใช่คำสั่งทางปกครอง
5. พระราชบัญญัติไม่ใช่กฎ
6. การเตรียมการและดำเนินการของเจ้าหน้าที่เพื่อจัดให้มีคำสังทางปกครอง คือการพิจารณาทางปกครอง
7. เจ้าหน้าที่จะทำการพิจารณาทางปกครองไม่ได้ถ้า คู่หมั้นหรือคู่สมรสของคู่กรณี , ญาติของคู่กรณี , นายจ้างของคู่กรณี หรือเป็นคู่กรณีเองไม่ได้
8. ถ้ากรณีเคยเป็นลูกจ้างของคู่กรณี เจ้าหน้าที่ทำการพิจารณาทางปกครองได้
9. คู่กรณีไม่มีสิทธินำทนายความของตนเข้ามาในการพิจารณาทางปกครองได้
10. คู่กรณีไม่มีสิทธิแต่งตั้งบุคคลหนึ่งบุคคลใดแทนตนในการพิจารณาทางปกครอง
11. เจ้าหน้าที่ไม่มีสิทธิห้ามการปฏิบัติหน้าที่ของผู้แทนของคู่กรณีที่ไม่ทราบข้อเท็จจริงในเรื่องที่พิจารณาทางปกครองอย่าง
เพียงพอ
12. เมื่อมีการแต่งตั้งตัวแทนร่วมของคู่กรณีๆ จะยกเลิกการให้ตัวแทนร่วมดำเนินการแทนตนมิได้
13. ในการพิจารณาทางปกครองเจ้าหน้าที่จะต้อง แจ้งสิทธิและหน้าที่ในกระบวนการพิจารณาทางปกครองให้คู่กรณีทราบ , ให้คู้กรณีมีโอกาสที่จะได้รับทราบข้อเท็จจริงอย่างเพียงพอ , ให้คู่กรณีมีโอกาสได้โต้แย้งและแสดงหลักฐานของตนเอง , ไม่อนุญาตให้ตรวจดูเอกสารหรือพยานหลักฐานได้ ในกรณีที่ต้องรักษาไว้เป็นความลับ
14. คำสั่งทางปกครองที่อาจอุทธรณ์หรือโต้แย้งต่อไปได้ ให้ระบุกรณีที่อาจอุทธรณ์หรือโต้แย้งไว้ในคำสั่งด้วย
15. คำสั่งทางปกครองที่ทำเป็นหนังสือ ต้องจัดให้มีเหตุผลไว้ด้วย
16. คำสั่งทางปกครองที่มีข้อผิดพลาดเล็กน้อย เจ้าหน้าที่อาจแก้ไขเพิ่มเติมได้เสมอ
17. คำสั่งทางปกครองที่ต้องให้เจ้าหน้าที่อื่นให้ความเห็นชอบก่อน จะไม่เสียไปถ้าเจ้าหน้าที่นั้นได้ให้ความเห็นชอบในภายหลังถือว่าใช้ได้
18. การอุทธรณ์คำสั่งทางปกครองที่ไม่ออกโดยรัฐมนตรี ต้องยื่นต่อเจ้าหน้าที่ผู้ทำคำสั่งทางปกครองภายใน 15 วัน
19. คำสั่งของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยไม่ต้องอุทธรณ์ภายในฝ่ายปกครอง คู่กรณีสามารถฟ้องต่อศาลปกครองได้
20. คำสั่งของคณะกรรมการวินิจฉัยข้อพิพาท ไม่สามารถอุทธรณ์ได้แต่สามารถฟ้องศาลปกครองได้
21. หากได้รับการวินิจฉัยความผิดถึงที่สุด และเห็นว่าคำสั่งทางปกครองที่ได้รับไม่เป็นธรรม สามารถฟ้องศาลปกครองภายใน 90 วันนับแต่วันรับทราบคำสั่ง
22. เจ้าหน้าที่ต้องพิจารณาคำอุทธรณ์ภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับอุทธรณ์
23. การอุทธรณ์ไม่เป็นเหตุให้ทุเลาการบังคับตามคำสั่งทางปกครอง
24. กรณีเห็นด้วยกับอุทธร์ ให้ดำเนินการเปลี่ยนแปลงคำสั่งทางปกครองตามความเห็นของตน
25. กรณีไม่เห็นด้วยกับอุทธรณ์ ให้รายงานความเห็นพร้อมเหตุผลไปยังผู้มีอำนาจพิจารณาอุทธรณ์
26. การเพิกถอนคำสั่งทางปกครองที่ลักษณะเป็นการให้ประโยชน์ต้องกระทำภายใน 90 วัน นับแต่รู้ถึงเหตุที่จะเพิกถอนคำสั่งนั้น
27. ผู้ที่ไม่รู้ถึงความไม่ชอบด้วยกฎหมายของคำสั่งทางปกครองในขณะที่รับคำสั่งทางปกครอง สามารถอ้างความเชื่อโดยสุจริตได้เมื่อถูกเพิกถอนคำสั่งทางปกครอง
28. ผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการเพิกถอนคำสั่งทางปกครองต้องร้องขอค่าทดแทนภายใน 180 วันนับแต่ได้รับแจ้งให้ทราบถึงการเพิกถอนนั้น
29. การยื่นขอให้พิจารณาใหม่ ต้องกระทำภายใน 90 วัน นับแต่วันผู้นั้นได้รู้ถึงเหตุซึ่งอาจขอให้พิจารณาใหม่
30. เจ้าหน้าที่อาจยึดอายัดทรัพย์สินของผู้ที่ไม่ชำระเงินตามกำหนดของคำสั่งทางปกครอง
31. คำสั่งทางปกครองที่กำหนดให้ละเว้นกระทำ หากฝ่าฝืนต้องชำระค่าปรับทางปกครองไม่ต่ำกว่า 20,000 บาทต่อวัน
32. คำสั่งทางปกครองที่กำหนดให้กระทำแล้วไม่ปฏิบัติตาม เจ้าหน้าที่สามารถเข้าดำเนินการด้วยตนเองได้
33. เจ้าหน้าที่อาจใช้กำลังเข้าดำเนินการเพื่ให้เป็นไปตามมาตราการบังคับทางปกครองได้ หากมีการต่อสู้ขัดขวาง
34. การแจ้งคำสั่งทางปกครอง เจ้าหน้าที่จะกระทำด้วยวาจาก็ได้
35. การแจ้งทางไปรษณีย์ต้องแจ้งโดยไปรษณีย์ตอบรับเท่านั้น
36. การแจ้งภายในประเทศให้ถิอว่าได้รับเมื่อครบกำหนด 7 วันนับตั้งแต่วันส่ง
37. การแจ้งคำสั่งทางปกครองจะกระทำได้โดยการประกาศในหนังสือพิมพ์ ในกรณี ไม่รู้ตัวผู้รับ กรณีรู้ตัวแต่ไม่รู้ภูมิลำเนา กรณีมีผู้รับเกิน 100 คนขึ้นไป
38. ในกรณีประกาศหรือลงหนังสือพิมพ์ให้ถือว่าได้รับแจ้งเมื่อพ้น 15 วันนับแต่วันได้แจ้ง
39. ในกรณีที่เจ้าหน้าที่กระทำการอย่างหนึ่งอย่างใด ให้นับวันสิ้นสุดของระยะเวลานั้นรวมเข้าด้วยกัน แม้วันสุดท้ายจะเป็นวันหยุดการทำงาน
40. นายกองค์การบริหารส่วนตำบล ไม่สามารถจะเป็นพยานในการส่งหนังสือเพื่อแจ้งคำสั่งทางปกครองในกรณีผู้รับไม่ยอมรับหรือไม่มีผู้รับ
41. ค่าปรับทางปกครองมี 4 ระดับคือ 20,000 บาทสำหรับคณะกรรมการ และรัฐมนตรี
42. 15,000 บาทสำหรับปลัด อธิบดี ผู้ว่าฯ
43. 10,000 บาทสำหรับนายอำเภอ หัวหน้าส่วนราชการประจำจังหวัด ผู้บริหารท้องถิ่น ผู้แทนของรัฐวิสาหกิจหรือหน่วยงานรัฐอื่นๆ
44. 5,000 บาทสำหรับพนักงานเจ้าหน้าที่ตามกฎหมายอื่นๆ ส่วนเอกชนที่ใช้อำนาจทางปกครองต้องเสนอให้รัฐมนตรีพิจารณาเป็นรายไปทั้งนี้ไม่เกิน 1.000 บาท
45. ชั้นศาลปกครองได้แก่ ศาลปกครองชั้นต้น และศาลปกครองสูงสุด
46. ศาลปกครองชั้นต้นแบ่งออกเป็นสองประเภท ได้แก่ศาลปกครองกลาง และศาลปกครองส่วนภูมิภาค
47. ในวาระแรกกฎหมายได้กำหนดให้จัดตั้งศาลปกครองในรูปภูมิภาคจำนวน 16 แห่ง
48. การเปิดทำการของศาลปกครองในภูมิภาค กฎหมายกำหนดให้เปิดทำการไม่น้อยกว่าปีละ 7 ศาล
49. คดีที่ไม่อยู่ในศางปกครองมี ,การดำเนินการเกี่ยวกับวินัยทหาร , คดีที่อยู่ในอำนาจศาลแรงงาน , คดีที่อยู่ในอำนาจศาลภาษีอากร , คดีที่อยู่ในอำนาจศาลล้มละลาย
50. การฟ้องในคดีโต้แย้งคำสั่งทางปกครองต้องฟ้องภายใน 90 วัน นับแต่วันทราบคำสั่ง
51. การฟ้องเกี่ยวกับสัญญาทางปกครองต้องฟ้องภายใน 1 ปีนับแต่วันที่รู้หรือควรรู้ถึงเหตุแห่งการฟ้องคดี
52. ผู้ฟ้องคดีต้องเป็นผู้เดือดร้อนเสียหายอันเนื่องมาจากการกระทำทางปกครอง
53. ผู้ที่จะได้แต่งตั้งเป็นตุลาการในศาลปกครองชั้นต้น ต้องมีอายุ 35 ปี
54. ก.ศป. หมายถึงตุลาการศาลปกครอง 55. คณะกรรมการตุลาการศาลปกครองมี 13 คน
56. องค์คณะของศาลปกครองชั้นต้นต้องมีอย่างน้อย 3 คน
57. สำนักงานศาลปกครองเป็น หน่วยงานอิสระ
58. ประธานศาลปกครองสูงสุด เป็นประธารกรรมการตุลาการศาลปกครองสูงสุด
59. การฟ้องคดีที่ศาลปกครองในกรณีขอให้ศาลปกครองสั่งให้หน่วยงานของรัฐชดใช้เงิน ต้องเสียค่าธรรมเนียมศาล ร้อยละ 2.5 ไม่เกิน 200,000 บาท
60. การฟ้องคดีปกครองเกี่ยวกับการกระทำละเมิดหรือสัญญาทางปกครอง จะต้องยื่นฟ้องภายในระยะเวลา 5 ปีนับแต่วันที่ได้รู้หรือควรรู้ถึงเหตุแห่งการฟ้องคดี

สรุป พรบ.ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ.2551

สรุป พรบ.ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ.2551

สรุป ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยงานสารบรรณ 2526

สรุป ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยงานสารบรรณ 2526